วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Premultiply & Unpremultiply

เรื่องแรกๆที่จะสับสนเกี่ยวกับการ Composite CGI(Computer Generate Image) ก็คือเรื่อง Premultiply (หรือ Premul) และ Unpremultiply (หรือ Unmul, Divide) มันคืออะไร? ทำไมเราถึงต้องเข้าใจมัน ก่อนที่จะเป็น Compositor ที่ดีได้?

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Why Linear?

ทำไมถึงต้องทำงานที่ Linear

ถ้าใครอ่าน บทความเรื่อง Color Space จะรู้ว่า การที่เราจะทำการปรับเปลี่ยน ดัดแปลง ภาพที่เราได้มา ที่เป็น Log, sRGB มาทำงานเนี่ย มันจะ "ผิด" ไปจากที่โปรแกรมได้ตั้งใจไว้ เพราะโปรแกรมออกแบบมาให้ทำงานกับแสง ที่เป็น Linear Color Space
พูดไปก็เข้าใจยาก ก็เลยคิดว่า จะยกตัวอย่าง ด้วยภาพ
โดยจะยกตัวอย่างจากภาพ Marcie เหมือนเดิม

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Nuke Color Management


หลังจากรับปากว่าจะเขียนถึง Linear Workflow ใน Nuke วันนี้ก็มีเวลาเขียนถึงแล้ว
จากที่ศึกษาเองจากเนท เกี่ยวกับ  Linear Workflow ใน Fusion ผมก็เทียบกับ Nuke ปรากฏว่า วิธีการทำงาน ก็ไม่ได้ต่างกันมาก เพียงแต่ เราต้องรู้ว่า มันมีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง มีปุ่มอะไรต้องกดบ้าง
หลังจากศึกษาเองมา ก็ได้เจอบทความที่ http://www.nukepedia.com/written-tutorials/shake-to-nuke-a-transition-guide-part-ii-color-management เขียนโดย Ivan Busquets Compositing Supervisor

รู้อย่างนั้นแล้ว ผมก็จะเอาบทความเขามาเขียนถึง ทั้งใช้ content ของเขา และรวมถึงผมเขียนเอง มารวมๆกันก็แล้วกัน

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Fusion Linear Workflow (Simple)


Fusion Linear Workflow (Simple) คราวที่แล้วเป็นแบบที่เอามาจากเวปที่คนที่ใช้ Fusion มานาน เขาแนะนำ แต่ดูเหมือนคนที่คุ้นเคยกับ Nuke อาจจะคิดว่ามันวุ่นวาย วันนี้ก็เลยเอามาเขียนต่ออีกหน่อย เป็นวิธีที่ไม่ต้องต่อ Node เยอะ (และคิดว่าก็คล้ายๆกับที่ Nuke ทำ)

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Fusion Linear Workflow


Fusion Linear Workflow ที่อ่านมาจากเวป http://www.designimage.co.uk/viewing-linear-workflows-simplified/ เลยเอามาเขียนเป็นไทยให้พอเข้าใจไอเดียนะครับ

ผู้เขียนเขียนเอง: หลังจากอ่านบทความที่แล้ว คงจะพอเข้าใจเรื่อง color space ไปแล้ว แล้วคงเข้าใจแล้วว่า เพราะคนทำงานหนัง เขามักจะทำงานกับภาพที่ ได้มาจาก film scan เขาจึงทำงานกับ Linear color space เพื่อให้การทำงาน composite ของเขานั้น มีความถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เพราะงั้นวันนี้ ผมก็เลยมาเขียนถึงวิธีการทำงานแบบ Linear Workflow ใน Fusion กัน (วันหลังอาจจะเขียนถึง Nuke ถ้าไม่ขี้เกียจ)

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Color space 101

หน้านี้แปลมาจาก (http://galannicolas.com/mediawiki-1.13.3/index.php?title=Color_Space_101) และทำการดัดแปลงนิดหน่อยในเรื่องโปรแกรมที่พูดถึง เพราะ ไม่มีใครใช้ Shake กันอีกแล้ว ผมเลยเปลี่ยนเป็น Nuke, Fusion แทน

โพสนี้หวังว่าจะทำให้เข้าใจเรื่อง Color Space ได้มากขึ้น ไม่มากก็น้อย โดยจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ โดยไม่เน้นเป๊ะมากนัก
 

เปรียบเทียบ

เมื่อทำการแสดงผลแบบที่ไม่มีการทำ color management เลย, ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ภาพ คุณจะเห็นภาพประมาณนี้